Rudolph's Red Nose Shining

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
       ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. ในการเรียนการสอนที่ต้องให้เด็กฝึกทักษะการวิเคราะห์นั้น ครูควรมีการบันทึกให้เห็นถึงรายละเอียดอย่างชัดเจน  คือ การบันทึกเป็นตาราง ที่แยกองค์ประกอบให้เห็นอย่างเด่นชัด และในส่วนของการสังเคราะห์ก็เช่นกัน ควรมีการยันทึกเป็นรูปแบบอย่างชัดเจน
2. ในการสำรวจความชอบหรือความสนใจของเด็ก อาจทำเป็นตารางเพื่อสำรวจโดยใช้การขีด 1 เส้น แทน เด็ก 1 คน( การเช็คลิส ) เมื่อสำรวจเรียบร้อยต้องมีการสรุปผลจากการสำรวจทุกครั้ง
3. การสอนเลขให้กับเด็ก ควรสอนด้วยเลขฐานสิบ
4. การเขียนแผนการสอนใน 6 กิจกรรมหลัก ซึ่งต้องจัดขึ้นทั้ง 5 วัน

การประเมินผล
ตนเอง : ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และ ปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน โดยการใช้ดินนำ้มันและไม้ สร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิต ทั้งเดี่ยว ละตับคู่ช่วยกันสร้างรูปทรง 3 มิติ และนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน
เพื่อน : มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบรูปทรงต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็น สนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ : อำนวยความสะดวกในเรื่องของสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน มีการแนะนำ อธิบาย ขยายความเนื้อหา จนเข้าใจและสามารถตอบคำถามที่นักศึกษาสงสัยได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

                      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
        ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. มิติสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของลูกอมกับพื้นที่ของขวดโหล นำมาซึ่งการคาดคะเนจำนวนลูกอมที่อยู่ในขวดโหลได้
2. หลังจากการนับทุกครั้งควรมีการแทนค่าจำนวนด้วยตัวเลข ซึ่งตัวเลขที่ใช้ คือ เลขฮินดูอารบิก
3. ในการจัดกลุ่มสิ่งใดก็แล้วแต่ สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีเกณฑ์การแบ่งที่ชัดเจน และ ง่ายต่อการจัดกลุ่ม
4. ในการสอนเรื่อง การเปรียบเทียบนั้น ควรเริ่มจากการเปรียบเทียบแค่ 2 กลุ่มก่อน พอเด็กมีพัฒนาการที่โตขึ้นหรือช่วงวัยที่มากขึ้น จึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นการเปรียบเทียบ 3 กลุ่ม
5. ในการเลือกเรื่องสอนเด็ก ควรเลือกเรื่องที่ ใกล้ตัวเด็ก และ มีผลกระทบกับเด็ก เช่น ของที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน บุคคลหรือสถานที่ ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก

การประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจฟังและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม ระดมความคิดในการวางแผนการเลือกหัวข้อเรื่องในการสอน
เพื่อน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดและช่วยกันวางแผนงาน
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาด้วยเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิดตาม วิเคราะห์ สังเคราะห์จนได้มาซึ่งคำตอบ ชี้แนะแนวทางในการสร้างงาน

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

ื่สื่อ " แทนค่าฉันที "

                        สื่อ " แทนค่าฉันที "

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษลัง
2. กระดาษสี
3. กระดาษ A4
4. กาว
5 .ดินสอ
6. สี
7. กรรไกร

ขั้นตอนการผลิตสื่อ
1. ใช้กรรไกรตัดกระดาษลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเท่าๆกันจำนวน 10 แผ่น จากนั้นตัดกระดาษสีแปะเป็นพื้นหลัง
2. วาดรูปต่างๆลงกระดาษA4ตามจำนวนที่ต้องการ เช่น ต้องการใช้รูปส้มแทนจำนวน 2 ก็วาดรูปส้มจำนวน 2 รูป
3. นำรูปที่วาดแสดงจำนวน 1-10 มาแปะลงบรกระดาษลังที่เตรียมไว้ จากนั้นวาดรูปสี่เหลี่ยมบริเวณมุมของกระดาษลัง เพื่อเป็นช่องสำหรับเติมตัวเลข
4. ตัดกระดาษเพื่อเขียนตัวเลขสำหรับแทนค่า

ประโยชน์ที่ได้จากสื่อ
  เด็กจะได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ การนับและแทนค่าจำนวน เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัส คือ ตามองรูปภาพ ใช้นิ้วมือในการชี้เพื่อนับ ใช้ปากในการนับออกเสียงตัวเลข อีกทั้งยังได้ใช้สมองในกระบวนการแทนค่าตัวเลขอีกด้วย