Rudolph's Red Nose Shining

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทความ เรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก

           บทความเรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก

ที่มา : วรารัตน์ สิริจิตราภรณ์
           โรงเรียนบ้านเชิงดอย ( ดอยสะเก็ด )

สรุปบทความ
         คำว่า " คณิตศาสตร์ " ฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ได้ โดยต้องอาศัยวิธีการที่ง่าย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การปฏิบัติ และกระทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง ดังนั้นเราจึงสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านกิจกรนมเสริมประสบการณ์ โดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทั้งสื่อที่เป็นของจริง เป็นรูปภาพ และเป็นของจำลองที่มีความหลากหลาย บางครั้งอาจใช้สื่อที่มีในห้องเรียน เช่น ไม้บล็อก ลูกบอล เป็นต้น ในการเรียนนั้นใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงาน  โดยครูต้องคอยเป็นผู้เสริมแรงให้กับเด็ก เช่น การกล่าวคำชมเชย การปรบมือให้กำลังใจ เพียงเท่านี้เราก็สามารถสอนคณิตที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ยากและทำให้เครียด กลายเป็นเรื่องที่ง่าย สนุกและสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
 
          ในสัปดาห์นี้เป็นการเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดงโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ความรู้ที่ได้รับ
1. การเรียนแบบ Project Approach
- เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
- หลักการ STEM
คือ S = วิทยาศาสตร์ ( กระบวนการทำ ดังนี้ สำรวจปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ )
      T = เทคโนโลยี ( การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรม )
      E = การออกแบบ ( การวางแผน การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม )
      M = คณิตศาสตร์ ( การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติกิจกรรม
              เช่น การตวงส่วนผสม
- ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงพระราชทานเมนู
" ไข่พระอาทิตย์  "ให้กับพระโอรสและพระธิดา
- การเรียนแบบ โปรเจค นั้นต้องใช้เวลาในการเรียนเป็นแบบระยะยาว เนื่องจากเด็กจะได้ศึกษาเรื่องราวที่ต้องการศึกษาจนถ่องแท้ ต้องศึกษาหาคำตอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และ คอยอำนวยความสะดวกให้
2. สื่อนวัตกรรมการศึกษา
- สื่อมอนเตสเซอรี่
มีดังนี้ คือ 1) ภาษา : เริ่มจากการให้เด็กใช้การสัมผัส
                2) ชีวิตประจำวัน : ฝึกทักษะต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับ
                3) คณิตศาสตร์ : เน้นทักษะการแก้ปัญหาและต้องแก้จนสำเร็จจึงจะเปลี่ยนสื่อได้
- สื่อการสอน : มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่หน่วยการเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็ก ครูต้องดูความเหมาะสมในด้านต่างๆทั้ง วัย พัฒนาการ และ ความปลอดภัย
- สื่อที่มีคุณภาพ คือ ต้อวผ่านการเล่นของเด็ก
3. แผนการจัดการเรียนรู้
- แผนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสังกัดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดรัฐบาล โรงเรียนสังกัด สพฐ.
- ในการจัดการเรียนรู้ 1 วัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก แต่ละกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ และต้องมีการบูรณาการทักษะต่างๆสอดแทรกลงไปมนทั้ง 6 กิจกรรม
- แผนการสอนในแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาทักษะที่ต่างกัน เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง เน้นพัฒนาร่างกาย
กิจกรรมเกมการศึกษา เน้นพัฒนาด้านสติปัญญา
4. วิจัย
* เนื่องจากวันที่เข้าชมนิทรรศการ ฐานวิจัย ยังไม่พร้อมที่จะให้ความรู้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมตัว จึงไม่มีข้อมูลที่บันทึก

การประเมินผล
ตนเอง : มีความสนใจในฐาน การสอนแบบโปรเจค เนื่องจากมีการวางโครงการ และขั้นตอนต่างๆอย่างเห็นได้ชัด มีการสาธิตวิธีการสอนที่เหมือนจริง จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ
อาจารย์ : มีการสรุปองค์ความรู้จากการเข้าชมนิทรรศการ ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
    ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(ต่อจากคาบที่แล้ว)
1.1 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต  ที่เกิดจากการกระทำ
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
   : การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   : ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
   : รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
   : การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
   : การสร้างสรรค์ศิลปะสองมิติและสามมิติ
1.2 สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
- การเก็บรวบรวมและการนำเสนอ
  : การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
1.4 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การประเมินผล
ตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆในการเรียน มีการจดบันทึกและร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างตั้งใจ
อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ อยู่ตลอดเวลา มีบางครั้งพูดเร็วทำให้ฟังไม่ทันบ้าง

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

            บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
      ประจำวัน พุธ ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1.1ความรู้ทางกายภาพ (Physical  Knowlage)
- เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น สี รูปร่าง ขนาด
  1.2ความรู้ทางสังคม (Social Knowlage)
- เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี7วัน หนึ่งปีมี12เดือน ( รับรู้เหมือนกันทั่วโลก )
  1.3ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowlage)
- เป็นการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต การสำรวจและการทดลอง(เป็นการคิดเชิงเหตุและผล)
  1.4ความรู้เชิงสัญลักษณ์(Symbolic Knowlage)
- เป็นการแสดงความรู้ด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้น มีความเข้าใจอย่างชัดเจนจนสามารถใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งนั้นได้ 
2.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- เกณฑ์ที่ตั้งไว้เพื่อประเมินคุณภาพสิ่งต่างๆ
- เป็นการประเมินคุณภาพขั้นตำ่
- ใช้ในการประเมินคุณภาพเพื่อการตัดสินใจ
3.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มีทั้งหมด 6 สาระการเรียนรู้ ดังนี้
- สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- สาระที่ 2 : การวัด
- สาระที่ 3 : เรขาคณิต
- สาระที่ 4 : พีชคณิต
- สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์(เชิงสัญลักษณ์)
โดยแต่ละสาระการเรียนรู้มีรายละเอียด ดังนี้
¤ สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจความหลากหลายของดารแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- เกี่ยวกับปริมานโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมากำกับ
1.จำนวน
- ใช้จำนวนจริงบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
2.การรวมและแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีจำนวนไม่เกิน10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
¤ สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด   นำ้หนัก ปริมาณ เงินและเวลา
1.ความยาว นำ้หนัก ปริมาตร
- การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ/การขั่ง/การเรียงลำดับนำ้หนัก
- การเปรียบเทียบ/การตวง
*การเปรียบเทียบนั้นต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้นเดียวกัน*
2.เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน
3.เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การประเมินผล
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆระหว่างการเรียนอย่างตั้งใจ รวมทั้งมีการจดบันทึกเนื้อหาในการเรียนลงสมุดอีกด้วย
อาจารย์ : มีการเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนกับชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งอาจารย์พูดเร็วเกินไปทำให้ฟังไม่ค่อยทัน