สรุป เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ของครูโรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม
ครู อแมนดา แม็กเคนนา มีความเชื่อว่า การเรียนคณิตศาสตร์ควรเป็นเรื่องสนุกแบะสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเปรตบาร์จะเน้นแารเบ่นให้เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ มุ่งส่งเสริมให้เด็กรู้าึกอิสระที่จะแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง และพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจัดบำดับแบะการคำนวนไปด้วย และครูจะมีวิธีการประเมินเด็กจากการสังเกตในแต่ละวัน โดยโรวเรียนเชื่อมั่นว่าหากเด็กสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก ผลการเรียนในชั้นปีอื่นจะดีขึ้นตามไปด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สรุปงานวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
• ความมุ่งหมายของกิจกรรม
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมสาน
2. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
• สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
• กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 อายุ 4-5 ปี ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน
• เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
• ผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับพอใช้ หบังการจัดกิจกรรมสานเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในระดับดี
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
• ความมุ่งหมายของกิจกรรม
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมสาน
2. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
• สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
• กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 อายุ 4-5 ปี ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน
• เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
• ผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับพอใช้ หบังการจัดกิจกรรมสานเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในระดับดี
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งงานบอร์ดปฏิทินและนำเสนอสื่อซึ่งเป็นเกมที่บูรณาการด้านคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อและการใช้สื่ออย่างคุ้มค่า ท้ายคาบมีการแนะแนวข้อสอบและทบทวนความรู้ ซึ่งจะมีการสอบในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 15.00 - 17.00 น. และปิดคอร์สการเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำสื่อนั้นมีข้อควรคำนึงหลายประการ อาทิ ต้องดูความเหมาะสม ความประหยัด ความคุ้มค่าของสื่อแต่ละชิ้น
การประเมินผล
- ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ช่วยเพื่อนทำบอร์ดปฏิทินในส่วนที่ต้องแก้ไข เป็นตัวแทนกลุ่มในการนำเสนอสื่อ
- ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี มรความตั้งใจจนงานของทุกกลุ่มเสร็จสมบูรณ์
- ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อซึ่งเป็นเกมที่บูรณาการทักษะคณิตศาสตร์ว่าควรเพิ่มเติม หรือ สอดแทรกเนื้อหาอย่างไรบ้างเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คุ่มค่าและมีประโยชน์มากที่สุด
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นการให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนในหน่วยต่างๆ รวมทั้งต้องลองสอนให้ดูหน้าชั้นเรียน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องแบ่งว่ากลุ่มไหนจะได้สอนวันไหนในวันจันทร์ - วันศุกร์และให้คนที่เขียนแผนในวันเดียวกับเพื่อนที่สาธิตการสอนหน้าชั้น ดูวิธีการของเพื่อนเป็นตัวอย่าง โดยแบ่ง ดังนี้
- วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า เรื่อง ชนิดของกระเป๋า
- วันอังคาร กลุ่มบ้าน เรื่อง ลักษณะของบ้าน
- วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ เรื่อง การดูแลรักษา
ยานพาหนะ
- วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย เรื่อง ประโยชน์ของกระต่าย
- วันศุกร์ กลุ่มเสื้อ เรื่อง ข้อพึงระวังของเสื้อ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และจัดกิจกรรมให้กับเด็กในการเรียนหน่วยต่างๆ
การประเมินผล
- ประเมินตนเอง
มีการเตรียมความพร้อม ช่วยเพื่อนเตรียมสื่อที่ใช้ประกอบการสอน ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
- ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อม สื่อ อุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นอย่างดี
- ประเมินอาจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ รวมทั้งแนะแนวทาง วิธีการ เทคนิคและกระบวนการในการสอนเด็กให้เข้าใจมากขึ้น
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
ประจำ วัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอแนวทางการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเป็นเกมการศึกษาที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากนั้นให้นักศึกษาตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การรวมจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า ว่าในแต่ละเนื้อหาเราจะจัดการสอนอย่างไร จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจสอบวิธีในการสอนของนักศึกษาแต่ละคน โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบในการสอน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ใช้ในการวางแผนแนวทางการบูรณาการคณิตศาตร์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก
การประเมินผล
- ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆ ทำงานที่อาจารย์มอบหมายเสร็จตามเวลา
- ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนจนเสร็จครบทุกคน
- ประเมินอาจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยและชี้นำแนวทางและวิธีการในการสอน รวมทั้งสามารถตอบคำถามและไขข้อสงสัยของนักศึกษาได้
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560
วันนี้อาจารย์พูดถึงชนิดและลักษณะของเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง เช่น
• เกมลอตโต้
• เกมมิติสัมพัธ์ 2 แกน
• เกมจับคู่ : จับคู่ภาพ-เงา จับคู่ภาพเหมือน เป็นต้น
• เกมจับคู่ : จับคู่ภาพ-เงา จับคู่ภาพเหมือน เป็นต้น
• เกมจัดแยกหมวดหมู่
• เกมเรียงลำดับ
และอาจารย์ได้มอบหมายงาน ให้นักศึกษาผลิตสื่อ ตามที่กำหนดให้ รวมทั้งอาจารย์มีการชี้แนะแนวทางในการนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อหรือเป็นส่วนประกอบของสื่อ เช่น ใช้แผงไข่ในการทำจิกซอว์ ใช้ฝาขวดทำเป็นเบี้ยในการเล่นเกม เป็นต้น
และอาจารย์ได้มอบหมายงาน ให้นักศึกษาผลิตสื่อ ตามที่กำหนดให้ รวมทั้งอาจารย์มีการชี้แนะแนวทางในการนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อหรือเป็นส่วนประกอบของสื่อ เช่น ใช้แผงไข่ในการทำจิกซอว์ ใช้ฝาขวดทำเป็นเบี้ยในการเล่นเกม เป็นต้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนรู้เรื่องเกมการศึกษา ช่วยให้เราสามารถนำไปบูรณาการเนื้อหาสาระในการเรียนกับการเล่นของเด็กได้
การประเมินผล
- ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ร่วมสนทนา แสดงความคิดเห็นและยันทึกความรู้ลงสมุด
- ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา มีการพูดคุยเสนอแนะ เกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา
- ประเมินอาจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา เสนอแนวทางในการทำ ชี้แนะด้านการประยุกต์สิ่งของเหลือใช้มาทำประยชน์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)