Rudolph's Red Nose Shining

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
       ประจำวัน พุธ ที่ 25 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายของ " คณิตศาสตร์ "
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคำนวณ
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา
- ศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตประจำวัน
2.ความสำคัญของ " คณิตศาสตร์ "
- เป็นเครื่องมือในการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล และสามารถพิสูจน์ได้
- ทำให้เป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ สุขุม
3.ประโยชน์ของ " คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
- ช่วยให้เข้าใจเหตุและผล นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
- ช่วยให้เข้าใจกระบวนการคิดและวิเคราะห์
- ช่วยในการตัดสินใจ
4.ทักษะพื้นฐานทาง " คณิตศาสตร์ "
ตัวอย่างเช่น
- การนับ
- การคำนวณ
- เรขาคณิต
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- การตวงวัด
- การจัดกลุ่ม
- เวลา
- แบบรูป
5.ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทาง" คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รู้จักการแก้ปัญหา
- ช่วยฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ
- ช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้มีความสอดคล้องจากง่ายไปยาก
- ช่วยให้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
*** กระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายนั้น  อาจมีได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล และการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม

การประเมินผล
ตนเอง : ในคาบนี้ได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน ร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์เปิดโอกาส แต่ไม่ได้ทำการจดบันทึกความรู้เนื่องจากประสบอุบัติเหตุที่มือ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ เน้นให้นักศึกษาฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ อยู่ตลอดเวลา ทำให้นักศึกษามีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถตอบคำถามและข้อสงสัยของนักศึกษาได้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
     ประจำวัน พุธ ที่ 18 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
1. สมอง
- รับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- รับรู้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนนอน เพราะประสาทสัมผัสทั้ง5 ทำงานตลอดเวลา
2. การอนุรักษ์(Conservation)
- เด็กตอบตามที่ตาเห็น
- ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง เป็นนามธรรม จับต้องได้
- การพัฒนาขั้นการอนุรักษ์ สามารถทำได้โดยวิธีการ ดังนี้ การนับ,การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง,การเปรียบเทียบ,การเรียงลำดับและการจัดกลุ่ม
3.ทฤษฎีของบรูเนอร์
การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
- ขั้นเรียนรู้จากการกระทำ(Reactive Stage) = เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- ขั้นเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage) = การที่เด็กสร้างมโนภาพของตนเอง
- ขั้นเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic Stage)
4.ทฤษฎีไวก๊อตสกี้
- เน้นการให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเขาและจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน(Peer) เป็นกระบวนการที่สนับสนุนและเพิ่มพูนพัฒนาการ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน(Intermakize)
- การที่เด็กจะพัฒนาต้องอาศัยบุคคลที่มีสมรรถนะ(Competency)มากกว่า โดยการสื่อสารหรือสนทนา ซึ่งเป็นวิธีช่วยให้เด็กพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ถือเป็นพัฒนาการทางสังคม
- ครู ผู้ปกครอง เปรียบเสมือนนั่งร้าน ที่คอยสนับสนุนให้เด็กประสบผลสำเร็จในงาน และต้องอาศัยการบูรณาการและความร่วมจากทุกฝ่าย
5.การเรียนรู้
- คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อความอยู่รอดในสังคม
- คือ การที่เด็กสามารถนำความรู้ใหม่มาใช้ในการแสดงพฤติกรรมใหม่
- การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เก็บข้อมูลแล้วส่งไปยังสมอง เมื่อสมองซึบซับจะทำให้เกิดการรับรู้
6.เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้
- เครื่องมือ : ประสาทสัมผัสทั้ง5
- วิธีการ : ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมือกระทำ(การเล่น)
- การเล่น : การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ลงมือกระทำกับวัตถุ โดยเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ
*** สิ่งเหล่านี้ทำให้จัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
• การประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน มีการจดบันทึกประเด็นสำคัญต่างๆ ลงในสมุด
อาจารย์ : เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น  สรุปองค์ความรู้ช่วยให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

                      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
       ประจำวัน พุธ ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
- พัฒนาการ = ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดย มีอายุเป็นตัวกำกับ
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก = การลงมือปฏิบัติจริงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 อย่างอิสระ ซึ่งสามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- ความสำคัญของพัฒนาการ = ทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์ ได้เหมาะสมกับพัฒนาการ เพื่อการส่งเสริมแบะปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาการ = การทำงานของสมอง
- ช่วงของพัฒนาการเด็ก ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. อายุ 0-2 ปี = (Sensitivities Stage) คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เพื่อเก็บข้อมูลให้สมองซึมซับ
2. อายุ 2-6 ปี = (Preoperation Stage) แบ่งเป็น2ช่วง คือ
        2.1 อายุ 2-4 ปี = ใช้ประโยคสั้นๆ ไม่ทีเหตุผล ตอบตามที่ตาเห็น
        2.2อายุ 4-6 ปี = ใช้ประโยคยาวขึ้น มีความคิด มีเหตุผล
- การเรียนรู้ เกิดจาก ความรู้เดิมเกิดการปรับโครงสร้าง(accomunation )ไปสู่ความรู้ใหม่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อความอยู่รอด

การประเมินผล
ตนเอง : ได้ตอบคำถามและได้แสดงความคิดเห็น ตั้งใจฟังและจับประเด็นสำคัญในเนื้อหาได้พอสมควร
อาจารย์ : อธิบายเร็วไปหน่อย บางครั้งจดตามไม่ทันแต่มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามเมื่อเกิดข้อสงสัย


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

                    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
      ประจำวัน พุธ ที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
- ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังในการเรียนรู้รายวิชานี้
- ได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ความหมายของรายวิชาร่วมกันในห้อง
- ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตีความจากชื่อวิชาถึงสาระสำคัญในการเรียนวิชานี้
การประเมินผล
ตนเอง : ในคาบนี้ได้มีการโต้ตอบ สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆในห้องเรียน ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
อาจารย์ : มีการกระตุ้นนักศึกษาให้ร่วมกันคิดและแสดงความเห็นตลอดเวลา มีความผ่อนคลายไม่เครียดจนเกินไป