บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
ประจำวัน พุธ ที่ 18 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560
• ความรู้ที่ได้รับ1. สมอง
- รับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- รับรู้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนนอน เพราะประสาทสัมผัสทั้ง5 ทำงานตลอดเวลา
2. การอนุรักษ์(Conservation)
- เด็กตอบตามที่ตาเห็น
- ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง เป็นนามธรรม จับต้องได้
- การพัฒนาขั้นการอนุรักษ์ สามารถทำได้โดยวิธีการ ดังนี้ การนับ,การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง,การเปรียบเทียบ,การเรียงลำดับและการจัดกลุ่ม
3.ทฤษฎีของบรูเนอร์
การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
- ขั้นเรียนรู้จากการกระทำ(Reactive Stage) = เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- ขั้นเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage) = การที่เด็กสร้างมโนภาพของตนเอง
- ขั้นเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic Stage)
4.ทฤษฎีไวก๊อตสกี้
- เน้นการให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเขาและจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน(Peer) เป็นกระบวนการที่สนับสนุนและเพิ่มพูนพัฒนาการ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน(Intermakize)
- การที่เด็กจะพัฒนาต้องอาศัยบุคคลที่มีสมรรถนะ(Competency)มากกว่า โดยการสื่อสารหรือสนทนา ซึ่งเป็นวิธีช่วยให้เด็กพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ถือเป็นพัฒนาการทางสังคม
- ครู ผู้ปกครอง เปรียบเสมือนนั่งร้าน ที่คอยสนับสนุนให้เด็กประสบผลสำเร็จในงาน และต้องอาศัยการบูรณาการและความร่วมจากทุกฝ่าย
5.การเรียนรู้
- คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อความอยู่รอดในสังคม
- คือ การที่เด็กสามารถนำความรู้ใหม่มาใช้ในการแสดงพฤติกรรมใหม่
- การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เก็บข้อมูลแล้วส่งไปยังสมอง เมื่อสมองซึบซับจะทำให้เกิดการรับรู้
6.เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้
- เครื่องมือ : ประสาทสัมผัสทั้ง5
- วิธีการ : ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมือกระทำ(การเล่น)
- การเล่น : การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ลงมือกระทำกับวัตถุ โดยเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ
*** สิ่งเหล่านี้ทำให้จัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
• การประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน มีการจดบันทึกประเด็นสำคัญต่างๆ ลงในสมุด
อาจารย์ : เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ช่วยให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น