Rudolph's Red Nose Shining

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุป เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ของครูโรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม

สรุป เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ของครูโรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม
  ครู อแมนดา  แม็กเคนนา มีความเชื่อว่า การเรียนคณิตศาสตร์ควรเป็นเรื่องสนุกแบะสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเปรตบาร์จะเน้นแารเบ่นให้เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ มุ่งส่งเสริมให้เด็กรู้าึกอิสระที่จะแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง และพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจัดบำดับแบะการคำนวนไปด้วย และครูจะมีวิธีการประเมินเด็กจากการสังเกตในแต่ละวัน โดยโรวเรียนเชื่อมั่นว่าหากเด็กสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก ผลการเรียนในชั้นปีอื่นจะดีขึ้นตามไปด้วย

สรุปงานวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน

 สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน
• ความมุ่งหมายของกิจกรรม
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมสาน
2. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
• สมมติฐานในการวิจัย
   เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
• กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
   นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 อายุ 4-5 ปี  ของโรงเรียนวัดนิมมานรดี  สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน
• เครื่องมือในการวิจัย
   1. แผนการจัดกิจกรรมการสาน
   2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
• ผลการวิจัย
   1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับพอใช้ หบังการจัดกิจกรรมสานเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่อยู่ในระดับดี



วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

                    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
    ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560


ความรู้ที่ได้รับ

   
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งงานบอร์ดปฏิทินและนำเสนอสื่อซึ่งเป็นเกมที่บูรณาการด้านคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อและการใช้สื่ออย่างคุ้มค่า ท้ายคาบมีการแนะแนวข้อสอบและทบทวนความรู้ ซึ่งจะมีการสอบในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 15.00 - 17.00 น. และปิดคอร์สการเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     
การทำสื่อนั้นมีข้อควรคำนึงหลายประการ อาทิ ต้องดูความเหมาะสม ความประหยัด ความคุ้มค่าของสื่อแต่ละชิ้น

การประเมินผล


- ประเมินตนเอง

     ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ช่วยเพื่อนทำบอร์ดปฏิทินในส่วนที่ต้องแก้ไข เป็นตัวแทนกลุ่มในการนำเสนอสื่อ

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี มรความตั้งใจจนงานของทุกกลุ่มเสร็จสมบูรณ์

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อซึ่งเป็นเกมที่บูรณาการทักษะคณิตศาสตร์ว่าควรเพิ่มเติม หรือ สอดแทรกเนื้อหาอย่างไรบ้างเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คุ่มค่าและมีประโยชน์มากที่สุด

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
      ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560 

ความรู้ที่ได้รับ
                                                                                                                                                       วันนี้เป็นการให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนในหน่วยต่างๆ รวมทั้งต้องลองสอนให้ดูหน้าชั้นเรียน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องแบ่งว่ากลุ่มไหนจะได้สอนวันไหนในวันจันทร์ - วันศุกร์และให้คนที่เขียนแผนในวันเดียวกับเพื่อนที่สาธิตการสอนหน้าชั้น ดูวิธีการของเพื่อนเป็นตัวอย่าง  โดยแบ่ง ดังนี้

- วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า เรื่อง ชนิดของกระเป๋า




- วันอังคาร กลุ่มบ้าน เรื่อง ลักษณะของบ้าน



- วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ เรื่อง การดูแลรักษา
ยานพาหนะ



- วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย เรื่อง ประโยชน์ของกระต่าย




- วันศุกร์ กลุ่มเสื้อ เรื่อง ข้อพึงระวังของเสื้อ








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                                                                                                                                                     ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และจัดกิจกรรมให้กับเด็กในการเรียนหน่วยต่างๆ

การประเมินผล

                                                                                                                                                  - ประเมินตนเอง

     มีการเตรียมความพร้อม ช่วยเพื่อนเตรียมสื่อที่ใช้ประกอบการสอน ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อม สื่อ อุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นอย่างดี

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ รวมทั้งแนะแนวทาง วิธีการ เทคนิคและกระบวนการในการสอนเด็กให้เข้าใจมากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
ประจำ วัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560 

ความรู้ที่ได้รับ

                                                                                                                                                       วันนี้อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอแนวทางการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเป็นเกมการศึกษาที่บูรณาการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากนั้นให้นักศึกษาตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การรวมจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า ว่าในแต่ละเนื้อหาเราจะจัดการสอนอย่างไร จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจสอบวิธีในการสอนของนักศึกษาแต่ละคน โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบในการสอน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                                                                                                                                                        ใช้ในการวางแผนแนวทางการบูรณาการคณิตศาตร์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก

การประเมินผล


- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆ ทำงานที่อาจารย์มอบหมายเสร็จตามเวลา

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนจนเสร็จครบทุกคน

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยและชี้นำแนวทางและวิธีการในการสอน รวมทั้งสามารถตอบคำถามและไขข้อสงสัยของนักศึกษาได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

           บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
        ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560 

 ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์พูดถึงชนิดและลักษณะของเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง เช่น
• เกมลอตโต้
• เกมมิติสัมพัธ์ 2 แกน
• เกมจับคู่ : จับคู่ภาพ-เงา จับคู่ภาพเหมือน เป็นต้น
• เกมจัดแยกหมวดหมู่
• เกมเรียงลำดับ
และอาจารย์ได้มอบหมายงาน ให้นักศึกษาผลิตสื่อ ตามที่กำหนดให้ รวมทั้งอาจารย์มีการชี้แนะแนวทางในการนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อหรือเป็นส่วนประกอบของสื่อ เช่น ใช้แผงไข่ในการทำจิกซอว์  ใช้ฝาขวดทำเป็นเบี้ยในการเล่นเกม เป็นต้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเรียนรู้เรื่องเกมการศึกษา ช่วยให้เราสามารถนำไปบูรณาการเนื้อหาสาระในการเรียนกับการเล่นของเด็กได้

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ร่วมสนทนา แสดงความคิดเห็นและยันทึกความรู้ลงสมุด

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา มีการพูดคุยเสนอแนะ เกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา เสนอแนวทางในการทำ ชี้แนะด้านการประยุกต์สิ่งของเหลือใช้มาทำประยชน์

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

           บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
        ประจำวัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
   1. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง มีศักยภาพ มีความสุข
   2. สาระที่เด็กควรเรียนรู้
      - ประสบการณ์  =  เป็นตัวพัฒนาสมองให้เกิดการพัฒนา
     - สาระที่ควรเรียนรู้ =  (1)   ตัวฉัน
                                       (2)   ธรรมชาติรอบตัว.                                                    
                                       (3)  บุคคลและสถานที่
                                       (4)   สิ่งรอบตัว
*** ควรเลือกจากความสนใจของเด็ก ต้องดูว่าใกล้ตัวเด็กอละมีผลกระทบสัมพันธ์กับเด็ก
    3. พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
        - ร่างกาย : กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่   สุขภาพอนามัย การเคลื่อนไหว
        - อารมณ์ : การแสดงออกทางความรู้สึกและการรับรู้ความรู้สึก
        - สังคม : การช่วยเหลือตนเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่น.  คุณธรรมจริยธรรม
        - สติปัญญา : ภาษา และ การคิด
*** จัดประสบการณ์ผ่าน 6 กิจกรรมหลัก เพราะ เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้

การประเมินผล
   ตนเอง : ตั้งใจฟัง ร่วมคิด แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามอาจารย์พร้อมทั้งจดบันทึกลงสมุด
   เพื่อน : ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบคำถามของอาจารย์
   อาจารย์ : ตอบคำถามและไขข้อสงสัยของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

            บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
       ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ 2560

ความรู้ที่ได้รับ
   ในคาบเรียนนี้ อาจารย์ติดภารกิจจึงได้มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม คือ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันทำป้ายปฏิทินเพื่อใช้เป็นสื่อไว้ใช้ในห้องเรียน





การประเมินผล
ตนเอง : ร่วมคิด วางแผนและลงมือทำงานกลุ่ม มีปัญหาในการทำบ้าง แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
เพื่อน : ทุกคนร่วมกันทำงานกลุ่มด้วยความตั้งใจ
อาจารย์ : คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในห้องเรียน

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
       ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. ในการเรียนการสอนที่ต้องให้เด็กฝึกทักษะการวิเคราะห์นั้น ครูควรมีการบันทึกให้เห็นถึงรายละเอียดอย่างชัดเจน  คือ การบันทึกเป็นตาราง ที่แยกองค์ประกอบให้เห็นอย่างเด่นชัด และในส่วนของการสังเคราะห์ก็เช่นกัน ควรมีการยันทึกเป็นรูปแบบอย่างชัดเจน
2. ในการสำรวจความชอบหรือความสนใจของเด็ก อาจทำเป็นตารางเพื่อสำรวจโดยใช้การขีด 1 เส้น แทน เด็ก 1 คน( การเช็คลิส ) เมื่อสำรวจเรียบร้อยต้องมีการสรุปผลจากการสำรวจทุกครั้ง
3. การสอนเลขให้กับเด็ก ควรสอนด้วยเลขฐานสิบ
4. การเขียนแผนการสอนใน 6 กิจกรรมหลัก ซึ่งต้องจัดขึ้นทั้ง 5 วัน

การประเมินผล
ตนเอง : ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และ ปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน โดยการใช้ดินนำ้มันและไม้ สร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิต ทั้งเดี่ยว ละตับคู่ช่วยกันสร้างรูปทรง 3 มิติ และนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน
เพื่อน : มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบรูปทรงต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็น สนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ : อำนวยความสะดวกในเรื่องของสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน มีการแนะนำ อธิบาย ขยายความเนื้อหา จนเข้าใจและสามารถตอบคำถามที่นักศึกษาสงสัยได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

                      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
        ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. มิติสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของลูกอมกับพื้นที่ของขวดโหล นำมาซึ่งการคาดคะเนจำนวนลูกอมที่อยู่ในขวดโหลได้
2. หลังจากการนับทุกครั้งควรมีการแทนค่าจำนวนด้วยตัวเลข ซึ่งตัวเลขที่ใช้ คือ เลขฮินดูอารบิก
3. ในการจัดกลุ่มสิ่งใดก็แล้วแต่ สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีเกณฑ์การแบ่งที่ชัดเจน และ ง่ายต่อการจัดกลุ่ม
4. ในการสอนเรื่อง การเปรียบเทียบนั้น ควรเริ่มจากการเปรียบเทียบแค่ 2 กลุ่มก่อน พอเด็กมีพัฒนาการที่โตขึ้นหรือช่วงวัยที่มากขึ้น จึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นการเปรียบเทียบ 3 กลุ่ม
5. ในการเลือกเรื่องสอนเด็ก ควรเลือกเรื่องที่ ใกล้ตัวเด็ก และ มีผลกระทบกับเด็ก เช่น ของที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน บุคคลหรือสถานที่ ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก

การประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจฟังและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม ระดมความคิดในการวางแผนการเลือกหัวข้อเรื่องในการสอน
เพื่อน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดและช่วยกันวางแผนงาน
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาด้วยเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิดตาม วิเคราะห์ สังเคราะห์จนได้มาซึ่งคำตอบ ชี้แนะแนวทางในการสร้างงาน

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

ื่สื่อ " แทนค่าฉันที "

                        สื่อ " แทนค่าฉันที "

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษลัง
2. กระดาษสี
3. กระดาษ A4
4. กาว
5 .ดินสอ
6. สี
7. กรรไกร

ขั้นตอนการผลิตสื่อ
1. ใช้กรรไกรตัดกระดาษลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเท่าๆกันจำนวน 10 แผ่น จากนั้นตัดกระดาษสีแปะเป็นพื้นหลัง
2. วาดรูปต่างๆลงกระดาษA4ตามจำนวนที่ต้องการ เช่น ต้องการใช้รูปส้มแทนจำนวน 2 ก็วาดรูปส้มจำนวน 2 รูป
3. นำรูปที่วาดแสดงจำนวน 1-10 มาแปะลงบรกระดาษลังที่เตรียมไว้ จากนั้นวาดรูปสี่เหลี่ยมบริเวณมุมของกระดาษลัง เพื่อเป็นช่องสำหรับเติมตัวเลข
4. ตัดกระดาษเพื่อเขียนตัวเลขสำหรับแทนค่า

ประโยชน์ที่ได้จากสื่อ
  เด็กจะได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ การนับและแทนค่าจำนวน เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัส คือ ตามองรูปภาพ ใช้นิ้วมือในการชี้เพื่อนับ ใช้ปากในการนับออกเสียงตัวเลข อีกทั้งยังได้ใช้สมองในกระบวนการแทนค่าตัวเลขอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทความ เรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก

           บทความเรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก

ที่มา : วรารัตน์ สิริจิตราภรณ์
           โรงเรียนบ้านเชิงดอย ( ดอยสะเก็ด )

สรุปบทความ
         คำว่า " คณิตศาสตร์ " ฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ได้ โดยต้องอาศัยวิธีการที่ง่าย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้ผ่านทางการเล่น การปฏิบัติ และกระทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง ดังนั้นเราจึงสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านกิจกรนมเสริมประสบการณ์ โดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทั้งสื่อที่เป็นของจริง เป็นรูปภาพ และเป็นของจำลองที่มีความหลากหลาย บางครั้งอาจใช้สื่อที่มีในห้องเรียน เช่น ไม้บล็อก ลูกบอล เป็นต้น ในการเรียนนั้นใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และเปิดโอกาสให้เด็กได้นำเสนอผลงาน  โดยครูต้องคอยเป็นผู้เสริมแรงให้กับเด็ก เช่น การกล่าวคำชมเชย การปรบมือให้กำลังใจ เพียงเท่านี้เราก็สามารถสอนคณิตที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ยากและทำให้เครียด กลายเป็นเรื่องที่ง่าย สนุกและสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
 
          ในสัปดาห์นี้เป็นการเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดงโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ความรู้ที่ได้รับ
1. การเรียนแบบ Project Approach
- เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
- หลักการ STEM
คือ S = วิทยาศาสตร์ ( กระบวนการทำ ดังนี้ สำรวจปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ )
      T = เทคโนโลยี ( การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรม )
      E = การออกแบบ ( การวางแผน การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม )
      M = คณิตศาสตร์ ( การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติกิจกรรม
              เช่น การตวงส่วนผสม
- ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงพระราชทานเมนู
" ไข่พระอาทิตย์  "ให้กับพระโอรสและพระธิดา
- การเรียนแบบ โปรเจค นั้นต้องใช้เวลาในการเรียนเป็นแบบระยะยาว เนื่องจากเด็กจะได้ศึกษาเรื่องราวที่ต้องการศึกษาจนถ่องแท้ ต้องศึกษาหาคำตอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และ คอยอำนวยความสะดวกให้
2. สื่อนวัตกรรมการศึกษา
- สื่อมอนเตสเซอรี่
มีดังนี้ คือ 1) ภาษา : เริ่มจากการให้เด็กใช้การสัมผัส
                2) ชีวิตประจำวัน : ฝึกทักษะต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับ
                3) คณิตศาสตร์ : เน้นทักษะการแก้ปัญหาและต้องแก้จนสำเร็จจึงจะเปลี่ยนสื่อได้
- สื่อการสอน : มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่หน่วยการเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็ก ครูต้องดูความเหมาะสมในด้านต่างๆทั้ง วัย พัฒนาการ และ ความปลอดภัย
- สื่อที่มีคุณภาพ คือ ต้อวผ่านการเล่นของเด็ก
3. แผนการจัดการเรียนรู้
- แผนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสังกัดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดรัฐบาล โรงเรียนสังกัด สพฐ.
- ในการจัดการเรียนรู้ 1 วัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก แต่ละกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ และต้องมีการบูรณาการทักษะต่างๆสอดแทรกลงไปมนทั้ง 6 กิจกรรม
- แผนการสอนในแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาทักษะที่ต่างกัน เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง เน้นพัฒนาร่างกาย
กิจกรรมเกมการศึกษา เน้นพัฒนาด้านสติปัญญา
4. วิจัย
* เนื่องจากวันที่เข้าชมนิทรรศการ ฐานวิจัย ยังไม่พร้อมที่จะให้ความรู้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมตัว จึงไม่มีข้อมูลที่บันทึก

การประเมินผล
ตนเอง : มีความสนใจในฐาน การสอนแบบโปรเจค เนื่องจากมีการวางโครงการ และขั้นตอนต่างๆอย่างเห็นได้ชัด มีการสาธิตวิธีการสอนที่เหมือนจริง จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ
อาจารย์ : มีการสรุปองค์ความรู้จากการเข้าชมนิทรรศการ ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
    ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(ต่อจากคาบที่แล้ว)
1.1 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต  ที่เกิดจากการกระทำ
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
   : การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   : ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
   : รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
   : การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
   : การสร้างสรรค์ศิลปะสองมิติและสามมิติ
1.2 สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
- การเก็บรวบรวมและการนำเสนอ
  : การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
1.4 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การประเมินผล
ตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆในการเรียน มีการจดบันทึกและร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างตั้งใจ
อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ อยู่ตลอดเวลา มีบางครั้งพูดเร็วทำให้ฟังไม่ทันบ้าง

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

            บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
      ประจำวัน พุธ ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ
1. ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1.1ความรู้ทางกายภาพ (Physical  Knowlage)
- เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น สี รูปร่าง ขนาด
  1.2ความรู้ทางสังคม (Social Knowlage)
- เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี7วัน หนึ่งปีมี12เดือน ( รับรู้เหมือนกันทั่วโลก )
  1.3ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowlage)
- เป็นการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต การสำรวจและการทดลอง(เป็นการคิดเชิงเหตุและผล)
  1.4ความรู้เชิงสัญลักษณ์(Symbolic Knowlage)
- เป็นการแสดงความรู้ด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้น มีความเข้าใจอย่างชัดเจนจนสามารถใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งนั้นได้ 
2.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- เกณฑ์ที่ตั้งไว้เพื่อประเมินคุณภาพสิ่งต่างๆ
- เป็นการประเมินคุณภาพขั้นตำ่
- ใช้ในการประเมินคุณภาพเพื่อการตัดสินใจ
3.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มีทั้งหมด 6 สาระการเรียนรู้ ดังนี้
- สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- สาระที่ 2 : การวัด
- สาระที่ 3 : เรขาคณิต
- สาระที่ 4 : พีชคณิต
- สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์(เชิงสัญลักษณ์)
โดยแต่ละสาระการเรียนรู้มีรายละเอียด ดังนี้
¤ สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจความหลากหลายของดารแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- เกี่ยวกับปริมานโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมากำกับ
1.จำนวน
- ใช้จำนวนจริงบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
2.การรวมและแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีจำนวนไม่เกิน10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
¤ สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด   นำ้หนัก ปริมาณ เงินและเวลา
1.ความยาว นำ้หนัก ปริมาตร
- การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ/การขั่ง/การเรียงลำดับนำ้หนัก
- การเปรียบเทียบ/การตวง
*การเปรียบเทียบนั้นต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้นเดียวกัน*
2.เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน
3.เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การประเมินผล
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆระหว่างการเรียนอย่างตั้งใจ รวมทั้งมีการจดบันทึกเนื้อหาในการเรียนลงสมุดอีกด้วย
อาจารย์ : มีการเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนกับชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งอาจารย์พูดเร็วเกินไปทำให้ฟังไม่ค่อยทัน

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

          บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
       ประจำวัน พุธ ที่ 25 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายของ " คณิตศาสตร์ "
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคำนวณ
- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา
- ศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตประจำวัน
2.ความสำคัญของ " คณิตศาสตร์ "
- เป็นเครื่องมือในการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล และสามารถพิสูจน์ได้
- ทำให้เป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ สุขุม
3.ประโยชน์ของ " คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
- ช่วยให้เข้าใจเหตุและผล นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
- ช่วยให้เข้าใจกระบวนการคิดและวิเคราะห์
- ช่วยในการตัดสินใจ
4.ทักษะพื้นฐานทาง " คณิตศาสตร์ "
ตัวอย่างเช่น
- การนับ
- การคำนวณ
- เรขาคณิต
- การเรียงลำดับ
- การเปรียบเทียบ
- การตวงวัด
- การจัดกลุ่ม
- เวลา
- แบบรูป
5.ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทาง" คณิตศาสตร์ "
- ช่วยให้รู้จักการแก้ปัญหา
- ช่วยฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ
- ช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้มีความสอดคล้องจากง่ายไปยาก
- ช่วยให้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
*** กระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายนั้น  อาจมีได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล และการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม

การประเมินผล
ตนเอง : ในคาบนี้ได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน ร่วมตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์เปิดโอกาส แต่ไม่ได้ทำการจดบันทึกความรู้เนื่องจากประสบอุบัติเหตุที่มือ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ เน้นให้นักศึกษาฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ อยู่ตลอดเวลา ทำให้นักศึกษามีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถตอบคำถามและข้อสงสัยของนักศึกษาได้

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
     ประจำวัน พุธ ที่ 18 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
1. สมอง
- รับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- รับรู้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนนอน เพราะประสาทสัมผัสทั้ง5 ทำงานตลอดเวลา
2. การอนุรักษ์(Conservation)
- เด็กตอบตามที่ตาเห็น
- ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง เป็นนามธรรม จับต้องได้
- การพัฒนาขั้นการอนุรักษ์ สามารถทำได้โดยวิธีการ ดังนี้ การนับ,การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง,การเปรียบเทียบ,การเรียงลำดับและการจัดกลุ่ม
3.ทฤษฎีของบรูเนอร์
การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
- ขั้นเรียนรู้จากการกระทำ(Reactive Stage) = เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
- ขั้นเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage) = การที่เด็กสร้างมโนภาพของตนเอง
- ขั้นเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic Stage)
4.ทฤษฎีไวก๊อตสกี้
- เน้นการให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของเขาและจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน(Peer) เป็นกระบวนการที่สนับสนุนและเพิ่มพูนพัฒนาการ เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน(Intermakize)
- การที่เด็กจะพัฒนาต้องอาศัยบุคคลที่มีสมรรถนะ(Competency)มากกว่า โดยการสื่อสารหรือสนทนา ซึ่งเป็นวิธีช่วยให้เด็กพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ถือเป็นพัฒนาการทางสังคม
- ครู ผู้ปกครอง เปรียบเสมือนนั่งร้าน ที่คอยสนับสนุนให้เด็กประสบผลสำเร็จในงาน และต้องอาศัยการบูรณาการและความร่วมจากทุกฝ่าย
5.การเรียนรู้
- คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อความอยู่รอดในสังคม
- คือ การที่เด็กสามารถนำความรู้ใหม่มาใช้ในการแสดงพฤติกรรมใหม่
- การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เก็บข้อมูลแล้วส่งไปยังสมอง เมื่อสมองซึบซับจะทำให้เกิดการรับรู้
6.เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้
- เครื่องมือ : ประสาทสัมผัสทั้ง5
- วิธีการ : ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมือกระทำ(การเล่น)
- การเล่น : การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ลงมือกระทำกับวัตถุ โดยเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ
*** สิ่งเหล่านี้ทำให้จัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
• การประเมินผล
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน มีการจดบันทึกประเด็นสำคัญต่างๆ ลงในสมุด
อาจารย์ : เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น  สรุปองค์ความรู้ช่วยให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

                      บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
       ประจำวัน พุธ ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
- พัฒนาการ = ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดย มีอายุเป็นตัวกำกับ
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก = การลงมือปฏิบัติจริงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5 อย่างอิสระ ซึ่งสามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- ความสำคัญของพัฒนาการ = ทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์ ได้เหมาะสมกับพัฒนาการ เพื่อการส่งเสริมแบะปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาการ = การทำงานของสมอง
- ช่วงของพัฒนาการเด็ก ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. อายุ 0-2 ปี = (Sensitivities Stage) คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5เพื่อเก็บข้อมูลให้สมองซึมซับ
2. อายุ 2-6 ปี = (Preoperation Stage) แบ่งเป็น2ช่วง คือ
        2.1 อายุ 2-4 ปี = ใช้ประโยคสั้นๆ ไม่ทีเหตุผล ตอบตามที่ตาเห็น
        2.2อายุ 4-6 ปี = ใช้ประโยคยาวขึ้น มีความคิด มีเหตุผล
- การเรียนรู้ เกิดจาก ความรู้เดิมเกิดการปรับโครงสร้าง(accomunation )ไปสู่ความรู้ใหม่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อความอยู่รอด

การประเมินผล
ตนเอง : ได้ตอบคำถามและได้แสดงความคิดเห็น ตั้งใจฟังและจับประเด็นสำคัญในเนื้อหาได้พอสมควร
อาจารย์ : อธิบายเร็วไปหน่อย บางครั้งจดตามไม่ทันแต่มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามเมื่อเกิดข้อสงสัย


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

                    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
      ประจำวัน พุธ ที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
- ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังในการเรียนรู้รายวิชานี้
- ได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ความหมายของรายวิชาร่วมกันในห้อง
- ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตีความจากชื่อวิชาถึงสาระสำคัญในการเรียนวิชานี้
การประเมินผล
ตนเอง : ในคาบนี้ได้มีการโต้ตอบ สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆในห้องเรียน ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
อาจารย์ : มีการกระตุ้นนักศึกษาให้ร่วมกันคิดและแสดงความเห็นตลอดเวลา มีความผ่อนคลายไม่เครียดจนเกินไป